ที่ผ่านมาผมได้รับคำถามอยู่บ่อยครั้งจากคุณผู้อ่านและจากคนรอบข้างเกี่ยวกับการเล่น music streaming กับเครื่องเสียงไฮไฟ สาเหตุคงเป็นเพราะงานเขียนของผมมักจะแวะไปพูดถึงเรื่องเหล่านั้นอยู่หลายวาระ
คำถามที่รับฟังมาก็มีหลากหลายครับทั้งเรื่องของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ แต่ที่มักจะถูกถามอยู่เสมอก็คือ “เล่นแบบไหนดี?” คำถามสั้น ๆ อย่างนี้แหละครับที่ตอบยาก ที่ว่าตอบยากเพราะว่าตัวแปรมันมีเยอะ เพราะคำว่า “ดี” ในคำถามนั้นตีความได้กว้างเหลือเกิน มองได้ทั้งเรื่องความคุ้ม (ได้มากกว่าที่จ่ายไป) หรือว่าจะเป็นเสียงดี? หรือว่าเขาจะหมายถึงเล่นแบบไหนไม่ต้องจ่ายเยอะ? เห็นไหมล่ะครับว่าผมสามารถคิดแทนได้เยอะเลย
ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีถามเข้ามาอีกแล้วโดยเพื่อนฝูงกันนี่แหละครับ คือเขามีเครื่องเสียงไฮไฟแยกชิ้นเล่นอยู่แล้ว แต่เป็นเครื่องเสียงไฮไฟจากโลกเก่าที่ยังไม่รองรับการสตรีมเพลงหรือการเชื่อมต่อกับระบบเน็คเวิร์คใด ๆ เมื่อได้ยินได้อ่านเขาเล่ามาว่าการสตรีมเพลงยุคนี้มันน่าสนใจยังไง พวกก็นึกอยากจะเอามาเปิดฟังกับเครื่องเสียงที่ใช้อยู่
แต่ก็ไม่แน่ใจว่าต้องลงทุนขนาดไหน แล้วจะได้อะไรบ้าง ผมเลยถือโอกาสนี้รวบรวมคำตอบทั้งหมดมาบอกเล่าในบทความนี้ก็แล้วกันครับ จะได้เป็นข้อมูลแนะแนวทางให้กับผู้อ่านท่านอื่น ๆ ไปด้วย
ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
วิธีนี้น่าจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่คุ้นเคยกับการใช้งานสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตอยู่แล้ว เพราะโดยพื้นฐานของอุปกรณ์เหล่านี้นั้นรองรับการสตรีมเพลงจากผู้ให้บริการต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันได้ ทั้งแอปพลิเคชันจากผู้ให้บริการเองหรือจาก third party
สำหรับคนทั่วไปการสตรีมเพลงมาฟังอาจฟังง่าย ๆ จากหูฟังหรือลำโพงในตัวสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตเอง แต่สำหรับคนที่ีมีเครื่องเสียงไฮไฟดี ๆ ใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแบบแยกชิ้นหรือแบบรวมชิ้นอยู่ในลำโพงแอคทีฟสมัยใหม่ การเชื่อมต่อสัญญาณเสียงจากสมาร์ทโฟนไปฟังที่เครื่องเสียงไฮไฟดี ๆ ของเรา ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวครับ


การเพิ่ม DAC ให้สมาร์ทโฟนเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นิยมกัน
ซึ่งวิธีการนั้นก็มีอยู่ 2-3 วิธี ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงไปทางสัญญาณบลูทูธ การเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณที่แปลงแจ็ค 3.5mm ไปเป็นแจ็ค RCA สเตริโอ ถ้าคิดว่าภาคออดิโอในตัวสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตเองยังไม่พอดี จะพ่วง Mobile External DAC เข้าไปช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงด้วยก็ยังทำได้เช่นกันครับ
ใช้คอมพิวเตอร์
นอกจากอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ก็สามารถนำมาใช้สตรีมเพลงได้เช่นกัน วิธีการใช้งานก็คล้ายกับสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต คือ เล่นจากแอปฯ ของผู้ให้บริการนั้น ๆ หรือเข้าใช้งานผ่านทาง web browser
วิธีนี้อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานอุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าหากไม่ใช่คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกิจวัตรก็อาจมองได้ว่าเป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวาย โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยถนัดอะไรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


เล่นจากคอมพิวเตอร์เสียงยังดีไม่พอ ก็ต้องเพิ่ม DAC เข้าไปด้วย
นอกจากนั้นแล้วการเชื่อมต่อสัญญาณเสียง อาจจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ประเภท USB DAC ซึ่งต้องนำมาต่อพ่วงเพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียง เนื่องจากระบบเสียงในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในระดับแค่ดีพอใช้เท่านั้นเอง ซึ่งในแง่นี้ก็ไม่ต่างอะไรจากการฟังผ่านสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตมากนัก
ใช้ตัวแปลง (adaptor) ที่เชื่อมต่อระบบ music streaming ได้
นี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่พักหลังผมมักจะแนะนำให้กับผู้ที่อยากลองเริ่มเล่น music streaming แบบง่าย ๆ กับชุดเครื่องเสียงที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์หรือเครื่องเสียงสเตริโอไฮไฟ
โดยเฉพาะถ้าหากท่านที่ถามมาเป็นผู้อ่านระดับซีเนียร์ที่ไม่ค่อยถนัดจะใช้อุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ แต่อยากลองฟังเพลงใน Spotify ที่มีทั้งเพลงทั้งไทยและเทศอยู่เป็นจำนวนมาก
บ้างก็อาศัยฟังเพลงไทยเก่า ๆ ที่หาฟังยากแล้ว บ้างอยากจะเปิดเพลงแบบต่อเนื่องเพื่อสร้างบรรยากาศในระหว่างอ่านหนังสือหรือพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หรืออยากลองฟังรายการวิทยุทางอินเทอร์เน็ตเรดิโอกับเขาบ้าง ผมมักแนะนำเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ครับ มันคือ Bose รุ่น SoundTouch Wireless Link Adapter


ส่วนตัวผมใช้งานเจ้าอุปกรณ์ตัวเล็ก ๆ ตัวนี้มาหลายเดือนแล้วครับ ชอบใจในความสะดวก ใช้ง่าย แถมสุ้มเสียงก็ยังไม่เลวเลยทีเดียว
ที่ว่าสะดวกในที่นี้คือ มันสามารถใช้งานร่วมกับชุดเครื่องไฮไฟแยกชิ้นที่ผมใช้งานอยู่ได้แบบง่าย ๆ แค่ต่อเอาต์พุตจากตัว SoundTouch Wireless Link Adapter ไปเข้าที่ไลน์อินพุตของแอมป์ ไม่ว่าไลน์อินพุตของแอมป์จะเป็นขั้วต่อแบบ RCA หรือแจ็ค 3.5mm ก็ไม่ใช่ปัญหา
เพราะในชุดของอุปกรณ์ตัวนี้มันจะมาพร้อมกับสายสัญญาณและอะแดปเตอร์ที่รองรับการเชื่อมต่อทั้ง 2 รูปแบบ จะต่อกับลำโพงแบบแอคทีฟก็สามารถใช้งานได้ในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีที่เครื่องเสียงเดิมของเรามีภาคถอดรหัสเสียงดิจิทัลหรือ DAC (Digital to Analog Converter) ที่มั่นใจว่าคุณภาพเสียงดีกว่าที่อยู่ในตัว SoundTouch Wireless Link Adapter แล้วล่ะก็ เรายังสามารถเลือกต่อใช้งานโดยเชื่อมต่อสัญญาณดิจิทัลแบบ optical จากตัว SoundTouch Wireless Link Adapter ออกไปเข้าที่อินพุต optical ของเอวีรีซีฟเวอร์ รวมถึงแอมป์หรือลำโพงแอคทีฟที่มี DAC ในตัวและมีอินพุต optical ได้ด้วย
แน่นอนว่าที่แนะนำกันที่นี้คงไม่ใช่แค่ใช้งานสะดวกอย่างเดียว ถ้าแค่ใช้งานสะดวกอย่างเดียว แต่คุณภาพเสียงไม่ได้ดีกว่าไปการฟังจากสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้วล่ะ ก็มันก็ป่วยการที่จะแนะนำกันครับ


ต่อเอาต์พุตจาก SoundTouch Wireless Link Adapter ใช้สายที่เขาแถมมาได้เลย


เสียบสายเข้าที่อินพุตเครื่องเสียงของเราเป็นอันเสร็จพิธี


เครื่องเสียงที่มีอินพุตเป็นแจ็ค 3.5mm อยู่ด้านหน้าของเครื่อง ก็ใช้งานได้เช่นกัน สะดวกมากเพราะสายที่แถมมาก็ใช้งานได้เลย
เมื่อเชื่อมต่อ SoundTouch Wireless Link Adapter เข้าไปในเครื่องเสียงเดิมของเราแล้ว เครื่องเสียงเดิมของเราต่อให้เป็นมรดกตกทอดมาจากคุณปู่ทวด ไม่ว่าจะเป็นแอมป์หลอดหรือทรานซิสเตอร์รุ่นโบราณ มันก็จะกลายเป็นเครื่องเสียงยุคใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้นทันที
สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ใช้งาน music streaming ผ่านเทคโนโลยี SoundTouch ของ Bose ได้เช่นเดียวกับเครื่องเสียงทุกรุ่นของ Bose ที่มีระบบ SoundTouchแน่นอนว่าถ้าที่บ้านของเรามีเครื่องเสียง SoundTouch ของ Bose ด้วย มันก็จะรู้จักกัน และสามารถใช้งานร่วมกันเป็นระบบมัลติรูมได้อีกต่างหาก
ต่อให้เป็นเครื่องเสียงรุ่นตำนานก็จะทะยานอัปเดตให้หนุ่มขึ้น 20-30 ปี ฉีดโบทอกซ์ยังไม่ได้ผลขนาดนี้เลยล่ะครับ!
อ้อ… นอกจากนั้นการมี SoundTouch Wireless Link Adapter ในระบบ ยังทำให้เครื่องเสียงของเรารับสัญญาณเสียงแบบไร้สายบลูทูธจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือทีวี ได้ด้วย (กระซิบบอกกันดัง ๆ ว่า ปกติเฉพาะแค่ตัวรับสัญญาณบลูทูธคุณภาพดีที่ออกแบบมาให้ใช้ต่อกับเครื่องเสียง ก็ขายกันหลายพันบาทแล้วครับ)
โดยสรุปก็คือ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงแอคทีฟชุดเล็ก ๆ หรือเครื่องเสียงไฮเอนด์ราคาตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักแสนหลักล้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียงรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ ขอเพียงแค่รับอินพุตสัญญาณอะนาล็อกหรือดิจิทัล optical ได้ ก็พร้อมจะฟินกับ music streaming ได้แบบง่าย ๆ และดีเกินคุ้มได้แล้วครับ
เพราะค่าตัวของเจ้า SoundTouch Wireless Link Adapter อยู่ที่ 6,900 บาทเท่านั้นเอง ถือว่าย่อมเยามากเมื่อเทียบกับคุณสมบัติและความสามารถของมัน
ต้องเรียนตามตรงว่าในตลาดอาจมีตัวเลือกอื่น ๆ ที่มีหลักการทำงานบางอย่างคล้ายกันกับเจ้า SoundTouch Wireless Link Adapter อยู่บ้าง แต่ผมยังไม่เจอตัวที่มีคุณสมบัติอย่างนี้ ในงบประมาณเท่านี้
โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยี SoundTouch ของ Bose โดยปกติถ้าหากเป็นสินค้าในกลุ่มลำโพงหรือเครื่องเสียงฟูลซิสเตมที่เป็นระบบ SoundTouch ของ Bose ต้องกำเงินหลักหมื่น (บาท) ขึ้นไปนะครับถึงจะมีสิทธิ์เล่นได้ !
ซื้อเครื่องเล่นหรือเครื่องเสียงที่สตรีมเพลงได้
ตัวเลือกนี้บอกเลยว่ามักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผมแนะนำ ไม่ใช่เพราะว่ามันไม่ดีหรือไม่เหมาะ แต่สาเหตุก็เพราะมันไม่ต่างอะไรจากการซื้อเครื่องเสียงตัวใหม่เข้าบ้านเลย เครื่องเล่นที่สตรีมเพลงได้และมีคุณภาพดีเหมาะสมกับชุดเครื่องเสียงไฮไฟ โดยมากต้องกำเงินระดับ 15,000-20,000 บาทขึ้นไป
โอเคว่าถ้าเราซื้อมาแล้วชอบใจมันก็จบ แต่ถ้าไม่ชอบใจจะไปต่ออีกทีก็อาจลังเลว่าจะลองไปเล่นอีกยี่ห้อหนึ่งดี หรือเลิกสนใจ music streaming ดี เพราะว่าลงทุนไปขนาดนั้นแล้วก็ยังไม่ถูกใจ ยังไม่ตอบโจทย์อยู่ดี ถึงตรงนี้แล้วบางคนอาจสับสนจนไปต่อไม่ถูกจริง ๆ ครับ


เครื่องเสียงรุ่นใหม่บางรุ่นอาจเล่น music streaming ได้ แต่รุ่นเก่าที่ออกมาหลายปีแล้ว หรือรุ่นใหม่แต่เป็นระดับ entry level หลายรุ่นก็ยังเล่นไม่ได้
ขณะเดียวกันในตลาดเวลานี้เครื่องเสียงที่เล่น music streaming ได้ก็เริ่มแตกหน่อ มีหลากหลาย platform ให้เลือกเล่น ครั้นจะไปทำความเข้าใจทุกระบบก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับทุกคน
ผมจึงเห็นว่าใครจะเริ่มต้นเลือกเล่น music streaming ด้วยวิธีนี้ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้นะครับ แต่ควรจะหาความรู้ หาข้อมูล ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี streaming ของเครื่องที่เราหมายตาเอาไว้ให้มากเป็นพิเศษเท่านั้นเองครับ
โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยี SoundTouch ของ Bose โดยปกติถ้าหากเป็นสินค้าในกลุ่มลำโพงหรือเครื่องเสียงฟูลซิสเตมที่เป็นระบบ SoundTouch ของ Bose ต้องกำเงินหลักหมื่น (บาท) ขึ้นไปนะครับถึงจะมีสิทธิ์เล่นได้ !
ซื้อเครื่องเล่นหรือเครื่องเสียงที่สตรีมเพลงได้
ตัวเลือกนี้บอกเลยว่ามักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผมแนะนำ ไม่ใช่เพราะว่ามันไม่ดีหรือไม่เหมาะ แต่สาเหตุก็เพราะมันไม่ต่างอะไรจากการซื้อเครื่องเสียงตัวใหม่เข้าบ้านเลย เครื่องเล่นที่สตรีมเพลงได้และมีคุณภาพดีเหมาะสมกับชุดเครื่องเสียงไฮไฟ โดยมากต้องกำเงินระดับ 15,000-20,000 บาทขึ้นไป
โอเคว่าถ้าเราซื้อมาแล้วชอบใจมันก็จบ แต่ถ้าไม่ชอบใจจะไปต่ออีกทีก็อาจลังเลว่าจะลองไปเล่นอีกยี่ห้อหนึ่งดี หรือเลิกสนใจ music streaming ดี เพราะว่าลงทุนไปขนาดนั้นแล้วก็ยังไม่ถูกใจ ยังไม่ตอบโจทย์อยู่ดี ถึงตรงนี้แล้วบางคนอาจสับสนจนไปต่อไม่ถูกจริง ๆ ครับ